เขตกงก่วน เมืองเหมียวลี่ (苗栗縣公館鄉) เก็บพุทรา (公館紅棗) พื้นที่เกษตกรรมเชิงสันทนาการสีทองอร่าม (黃金小鎮休閒農業區) หมู่บ้านฉือเฉียง (石墻村) วัดฟาอี้โหลว (揆一樓) หินมารดา (石母祠) โรงพยาบาลนกเขาแข่งแห่งเดียวในไต้หวัน (全台唯一賽鴿醫院)

เขตกงก่วน เมืองเหมียวลี่ (苗栗縣公館鄉) เป็นพื้นที่ปลูกพุทราเพียงแห่งเดียวในไต้หวัน มีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี เริ่มจากตระกูลเฉิงที่เข้ามาที่หมู่บ้านฉือเฉียง (石墻村) แห่งนี้แล้วเริ่มการเพาะปลูกพุทรา ปัจจุบันเขตปลูกพุทรามีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 95 เฮกตาร์ โดยความหวานเฉลี่ยของพุทราจะอยู่ที่ประมาณ 24 ถึง 27 โดยในช่วงหน้าหนาว ต้นไม้จะเหี่ยวแห้ง ในช่วงกลางเดือนมีนาคมจะเริ่มแตกหน่อ กลางเดือนเมษายนจะดอกพุทราจะเริ่มผลิบาน และช่วงกลางเดือนกรกฎาคมถึงปลายเดือนสิงหาคมของทุกปีจะเป็นช่วงเวลาแห่งการเก็บเกี่ยว ต่อจากนั้นเดือนตุลาคมเป็นต้นไปใบต้นพุทราจะร่วง เข้าสู่ช่วงของการพักผ่อนในฤดูหนาว เมื่อมาที่นี่แล้วก็มีทั้งพุทราสด พุทราตากแห้ง น้ำพุทรา แยมพุทราให้เลือกซื้อเลือกหากลับไปเป็นของฝากกันอีกด้วย




บริเวณใกล้ๆ กันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านฉือเฉียง (石圍墻) ในสมัยก่อนเป็นพื้นที่รกร้างก่อนที่อู๋ ลิงฟาง (吳琳芳) และชาวเมืองคนอื่นๆ ได้ระดมทุนสร้างกำแพงหินล้อมรอบเป็นเขตหมู่บ้าน จึงใช้ชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "Stone Wall" ซึ่งยังคงสภาพความเป็นอยู่ของชีวิตของคนสมัยนั้นให้คนรุ่นหลังได้สัมผัส เราเรียกบริเวณนี้ว่าพื้นที่เกษตรกรรมเชิงสันทนาการสีทองอร่าม (黃金小鎮休閒農業區) เหตุที่มีชื่อว่าสีทองอร่ามเนื่องจากในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมของทุกปี ถนนแห่งนี้จะเต็มไปด้วยดอกราชพฤกษ์ที่บานเป็นสีเหลืองทองอร่ามตลอดสองข้างทาง ในเดือนมิถุนายนจะเห็นทุ่งนาข้าวเป็นสีทองอร่ามเช่นกัน บริเวณนี้ยังมีวัดฟาอี้โหลว (揆一樓) ที่บูชาเทพกวนอู ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ในชุมชนที่สร้างขึ้นเมื่อปี 1817

หินมารดา (石母祠) ตั้งแต่สมัยโบราณว่ากันว่าหลังจากคลอดลูกแล้ว เด็กมักป่วยเป็นโรคร้ายแรงหรือเลี้ยงยาก ครอบครัวที่มีฐานะก็จะร้องขอให้คนนอกครอบครัวมาเป็นพ่อบุญธรรมและแม่บุญธรรม ในขณะที่ครอบครัวที่มีฐานะยากจนไม่มีทรัพย์สมบัติก็จะบูชาหินก้อนใหญ่ที่มีพลังจิตเปรียบเสมือนพ่อและแม่บุญธรรมเพื่อให้เด็กเติบโตอย่างมีสุขภาพที่ดี ไร้โรคภัยไข้เจ็บ


              ศาลาซักล้าง (รูปจาก  https://hwsln.pixnet.net/blog/post/50977733)


                     โรงพยาบาลนกเขาแข่ง แห่งเดียวในไต้หวัน (全台唯一賽鴿醫院)







Comments